Battery แบตเตอรี่ แบบ AGM (AGM Battery)

Battery Deep Cycle แบตเตอรี่ ตะกั่วกรด (AGM)
www.r3solarcell.co.th

          แบตเตอรี่ ตะกั่วกรดเป็น แบตเตอรี่ แบบชาร์จได้ที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดา แบตเตอรี่ ด้วยกันประดิษฐ์ขึ้นมา โดยแกสตัน พลองด์  (Gaston Plante') นักฟิกสิกส์ชาวฝรั่งเศสตั้งแต่ปี ค.ศ.1859 (พ.ศ.2402) เป็น แบตเตอรี่ แบบชาร์จได้ชนิดแรกที่ทำออกมาเพื่อการค้า และในปัจจุบันยังมีการใช้งานกันอยู่อย่างแพร่หลาย โดยมักจะทำเป็น แบตเตอรี่ ที่มีความจุ (Capacity) สูง ๆ ที่ให้กระแสได้มาก เนื่องจากมีต้นทุนในการเก็บพลังงานถูกกว่า แบตเตอรี่ ชาร์จได้ชนิดอื่น ๆ นิยมใช้กันในรถยนต์และยานพาหนะต่าง ๆ (Vehicle), รถยกไฟฟ้า (Fork Lift), รถเข็น (Wheel Chair), สกู๊ตเตอร์  (Scooter), รถกอล์ฟ  (Golf Car), ระบบสำรองไฟฟ้า (UPS) และระบบไฟแสงสว่างฉุกเฉิน (Emergency Light),ระบบ โซล่าเซลล์ (Off Grid System)
          ในตอนแรก แบตเตอรี่ ตะกั่วกรดที่ผลิตออกมาจำหน่ายมีเฉพาะที่เป็น แบตเตอรี่ แบบเปียก (Flooded Type หรือ Wet Type) ที่ต้องคอยเติมน้ำกลั่นเท่านั้น จนกระทั่งในช่วงกลางของทศวรรษที่ 70 (ระหว่างปี พ.ศ.2513-2523) ได้มีการพัฒนา แบตเตอรี่ ตะกั่วกรดแบบแห้งให้ใช้งานได้หลังจากที่มีการจดสิทธิบัตรมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1957(พ.ศ.2500) โดยอ๊อตโต จาเช่ (Otto Jache) ทำให้การใช้งานสะดวกขึ้นสามารถวางตำแหน่งของ แบตเตอรี่ ได้หลายรูปแบบมากขึ้น วางนอนหรือวางตะแคงได้ (แต่ห้ามวางกลับหัว) ไม่จำเป็นต้องวางในแนวตั้งเพียงอย่างเดียวเพราะอิเล็กทรอไลต์ที่เป็นน้ำกรดจะไม่ไหลหกออกมาเหมือน แบตเตอรี่ แบบเปียก ซึ่งเทคนิคในการทำให้ น้ำกรดไม่ไหลออกมา คือ การใช้วัสดุดูดซับน้ำกรดเอาไว้ จากนั้นจึงทำการผนึกเซล (Seal) ให้ปิดสนิทเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำและแก๊ส ซึ่งเป็นส่วนประกอบของน้ำกรด แบตเตอรี่ จึงไม่มีการสูญเสียอิเล็กทรอไลต์ออกไปจาก แบตเตอรี่ 
การแบ่งประเภทของ แบตเตอรี่ ตะกั่วกรด
          แบตเตอรี่ แบบแห้งจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือประเภทที่ใช้เจลเป็นวัสดุดูดซับกรดเรียกว่า แบตเตอรี่ แบบเจล (Gel Battery or GelCell) และประเภทที่ใช้แผ่นซิลิกาไฟเบอร์เป็นตัวดูดซึม เรียกว่า แบตเตอรี่ แบบ AGM (AGM Battery)ซึ่งลักษณะการแบ่งประเภทแบบนี้เป็นการแบ่งตามลักษณะโครงสร้างทางกายภาพ ของ แบตเตอรี่ แต่การแบ่งประเภทของ แบตเตอรี่ ตะกั่วกรดยังแบ่งได้อีกลักษณะหนึ่งคือ การแบ่งประเภทตามลักษณะการใช้งาน โดยจะแบ่งเป็น แบตเตอรี่ แบบใช้งานทั่วไป หรือแบบที่ใช้สำหรับสตาร์ทเครื่องยนต์ แบบคายประจุลึกและแบบลูกผสม
          ความแตกต่างระหว่าง แบตเตอรี่ แบบเจลและแบบ AGM  คือ แบตเตอรี่ แบบเจลจะเป็น แบตเตอรี่ ที่แห้งกว่าแบบ AGM ถ้าเปลือกนอกของมันแตกจะไม่มีน้ำกรดไหลหรือซึมออกมา แต่สำหรับแบบ AGM จะซับน้ำกรดได้ประมาณ 95%  ดังนั้นถ้าเปลือกของมันแตกแม้น้ำกรดจะไหลออกมา แต่ก็อาจจะมีการซึมออกมาได้บ้างเล็กน้อย
          ในปัจจุบันจะนิยมใช้ แบตเตอรี่ ตะกั่วกรดแบบ AGM มากกว่าแบบเจล ส่วนแบบเจลมีการใช้น้อยลงเนื่องจากมีข้อเสีย คือ  เจลมักจะละลายเมื่ออยู่ในสภาพอากาศที่ร้อยและถ้าเกิดการโอเว่อร์ชาร์จขึ้นเจลอาจจะเปลี่ยนรูปเป็นสารเหนียว ๆ ที่เรียกว่า วอยด์(Void)    ไปเกาะติดแน่นอยู่ที่แผ่นธาตุขัดขวางการแลกเปลี่ยนประจุระหว่างอิเล็กทรอไลต์และแผ่นธาตุ    ทำให้ประสิทธิภาพของ แบตเตอรี่ ลดลง        
          แบตเตอรี่ ทั้งแบบ AGM และแบบเจลยังแบ่งย่อยออกได้เป็น แบตเตอรี่ ตะกั่วกรดแบบปิดผนึกหรือ SLA (Sealed Lead Acid) และแบบปิดผนึกที่มีวาล์วระบายแรงดันหรือ VRLA (Valve Regultor Lead Acid) แบตเตอรี่แบบ VRLA นี้จะมี การติดตั้งเซฟตี้วาล์ว (Safety Valve) เพื่อใช้ระบายแก๊สในกรณีที่ความดันภายในเซลสูงเกินไป เพื่อป้องกัน แบตเตอรี่ เสียหาย
          การชาร์จ แบตเตอรี่ ทั้ง 2 ประเภท คือ SLA and VRLA จะต้องไม่ชาร์จเร็วหรือมากจนเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแก๊สในขณะชาร์จมากนัก การชาร์จมากหรือเร็วเกินไปจะทำให้ปฎิกิริยาเคมีภายในเซลส์ดูดซัดแก๊สที่เกิดขึ้นไม่ทัน ความดันภายในแบตเตอรี่

จะสูงขึ้นเป็นสาเหตุให้เกิดการสูญเสียแก๊สและน้ำออกไปจากตัว แบตเตอรี่ การเสียแก๊สและน้ำออกไปก็เท่ากับว่า แบตเตอรี่ ได้สูญเสียอิเล็กทรอไลต์ออกไปจากระบบ เพราะแก๊สและน้ำเป็นส่วนประกอบของอิเล็กทรอไลต์ เมื่อ แบตเตอรี่ มีปริมาณอิเล็กทรอไลต์น้อยลงจะสูญเสียความสามารถในการเก็บพลังงานไป ทำให้แรงดันไฟฟ้าหรือโวลต์ของแบตเตอรี่หลังจากการชาร์จไม่สูงเท่าที่ควรจะเป็น และถ้า แบตเตอรี่ มีการเสียแก๊สและน้ำบ่อย ๆ อิเล็กทรอไลต์ภายในเซลส์ก็จะหมดไปทำให้ แบตเตอรี่ ใช้งานไม่ได้อีก 

                                                                                           Credit By คุณไข่นุ้ย
สนใจข้ลมูลเพิ่มเติม Click

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม